บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)

Business Model Canvas คืออะไรและธุรกิจนำไปใช้งานอย่างไรเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ

ในการทำธุรกิจต้องมีสิ่งที่เรียกว่า โมเดลธุรกิจ ซึ่งโมเดลธุรกิจ คือสิ่งที่ช่วยบอกเราเกี่ยวกับธุรกิจว่ากำลังดำเนินการอย่างไร รายได้มาจากช่องทางไหน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราโฟกัส  พันธมิตรหรือ Partners ที่เราสามารถร่วมงานกันได้ หรืออยากจะเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจใช้อยู่เดิมให้ทันโลกในยุคปัจจุบัน มีเครื่องมือช่วยในการทำโมเดลธุรกิจซึ่งสามารถเห็นภาพรวมทั้งหมดได้เพียงหน้าเดียว คือ Business Model Canvas หรือ BMC

Business Model Canvas หรือ BMC ได้รับการพัฒนาโดย Alex Osterwalder และ Yves Pigneur เปิดตัวครั้งแรกในหนังสือ ‘Business Model Generation’ ซึ่ง BMC คือ เครื่องมือที่ช่วยอธิบายแผนธุรกิจของเราได้ตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

1. Customer Segments (CS) :

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราที่เราต้องการจะนำเสนอสินค้าหรือบริการโดยการแบ่งกลุ่มลูกค้าต้องมีความชัดเจน เช่น แบ่งตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย อายุ เพศ พฤติกรรมความสนใจ ฯลฯ เพื่อทำการตลากับลูกดให้ตรงกับลูกค้าเป้าหมาย

2. Value Propositions (VP) :

คือ คุณค่าของสินค้าหรือบริการของเราที่ต้องการส่งมอบให้กับลูกค้า และสินค้าหรือบริการดังกล่าวนั้น สามารถเข้าไปช่วยแก้ Paint Point ของลูกค้าได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการใหม่ เราอาจใช้ไอเดียที่เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ในการนำเสนอลูกค้า แต่หากเป็นสินค้าที่มีอยู่แล้วในตลาด ควรโดดเด่นและมีคุณสมบัติใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคู่แข่ง หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบ กระบวนการให้เป็นดิจิทัล (Digitalization) เพื่อให้ลูกค้าใช้บริการได้สะดวกสบายขึ้น

3. Channels (CH)

ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า ซึ่งธุรกิจหรือแบรนด์ใช้เป็นพื้นที่ในการสื่อสาร นำเสนอสินค้า และ ติดต่อกับลูกค้าของเรา  ซึ่งช่องทางเหล่านี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลูกค้ารู้จักและมองเห็นสินค้าหรือบริการของเรา  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ช่องทางที่เป็นเจ้าของเอง : เว็บไซต์ของบริษัท , สื่อ social media อาทิ Facebook , Line OA และ Instagram เป็นต้นและ

ช่องทางพันธมิตร : เว็บไซต์ที่เป็นของพันธมิตร, สินค้าขายส่ง, การค้าปลีก อาทิ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ   ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกใช้ช่องทางให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นได้

4. Customer Relationships (CR)

ความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้า นอกจากการทำสินค้าที่มีคุณภาพ มีบริการที่ดีน่าประทับใจ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งลูกค้าประจำหรือลูกค้าทั่วไป มีด้วยกันหลากหลายวิธี อาทิเช่น

ความช่วยเหลือส่วนบุคคล :  การตอบลูกค้าผ่านทางอีเมล โทรศัพท์  ช่องทาง social media ผ่านการแชท  

บริการอัตโนมัติ :  การทำ chatbot รวบรวมปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ได้จากการคุยกับลูกค้า ให้ลูกค้าได้รับแนวทางการ ช่วยเหลือ ลดระยะเวลาในการรอคิวและเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ การสร้างชุมชน : การสร้างชุมชนหรือกลุ่ม ในช่องทาง Facebook เพื่อการพูดคุยและมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าคนสำคัญ

5. Revenue Streams Revenue Streams (RS)

รายได้หลักของธุรกิจหรือกิจการ ในส่วนนี้ เราต้องทราบว่ารายได้ของธุรกิจมาจากช่องทางใดบ้าง อาทิ รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ รายได้จากการสมัครสมาชิกแบบรายเดือน/รายปี รายได้จากการให้ยืมหรือเช่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

6. Key Resources (KR)

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ ในการดำเนินธุรกิจ เช่นหากเราต้องการผลิตสินค้า เราต้องใช้ วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ต้นทุน เป็นต้น

7. Key Activities (KA)

กิจกรรมหลักที่ช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ กิจการหรือธุรกิจควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าทั้ง การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและการสร้างรายได้

8. Key Partners (KP)

พันธมิตรหรือหุ้นส่วน ในการดำเนินธุรกิจของเรา การมีพาร์ทเนอร์เป็นสิ่งสำคัญ ช่วยในเรื่องของการหาวัตถุดิบที่ดีและมีคุณภาพ ช่วยประชาสัมพันธ์ ทำให้ธุรกิจของเรามีความน่าเชื่อถือ พันธมิตรในแง่ของความร่วมมือกัน พัฒนาธุรกิจใหม่ ร่วมกันหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ทั้งในส่วนผู้ซื้อ-ผู้จัดจำหน่าย

Scroll to Top