บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)

เงินทุนหมุนเวียน ประเมินยังไงให้ธุรกิจมีเงินพอ

ปัญหายอดฮิตของธุรกิจ SMEs ที่ “เจ๊ง” บางครั้งอาจไม่ได้มาจากการขาดทุน แต่ส่วนใหญ่เกิดจาก “ขาดเงินทุนหมุนเวียน” แล้วเงินทุนหมุนเวียนคืออะไร เราจะสามารถประเมินเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจได้ยังไง แล้วผู้ประกอบการจะสามารถเพิ่มมันได้ไหม ทางไอร่ามีคำตอบมานำเสนอดังนี้

เงินทุนหมุนเวียน คืออะไร

เงินทุนหมุนเวียน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Working Capital คือ เงินทุนสำรองระยะสั้นที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นยิ่งมีเงินทุนหมุนเวียนเยอะ แปลว่า ธุรกิจมีสภาพคล่องสูง มีสินทรัพย์เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนดแต่ถ้าทุนหมุนเวียนน้อย แปลว่า ธุรกิจเริ่มมีความเสี่ยง ในวันใดวันหนึ่ง อาจจะขาดสภาพคล่องหมุนเงินไม่ทันจ่ายหนี้ ซึ่งปัญหาแบบนี้สามารถพบได้บ่อยกับธุรกิจ SMEs หรือ Start up เปิดใหม่ที่ไม่ได้เตรียมเงินสดหรือสินทรัพย์สภาพคล่องไว้สำรองเพียงพอ และสุดท้ายอาจต้องจบด้วยคำว่า “เจ๊ง”

 เงินทุนหมุนเวียนในงบการเงินสามารถวิเคราะห์ได้อย่างไร

 เมื่อเราพอเข้าใจความหมายและความสำคัญของเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ผู้ประกอบการสามารถประเมินเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยพิจารณาจาก “สินทรัพย์หมุนเวียน” เปรียบเทียบกับ “หนี้สินหมุนเวียน” ซึ่งดูได้จากงบแสดงฐานะการเงิน

สินทรัพย์หมุนเวียน

สินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักๆ เรียงจากมากสุดไปน้อยสุด ได้ดังนี้

เงินสด จัดเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องสูงสุด ที่สามารถใช้ในการจ่ายชำระค่าสินค้าหรือชำระหนี้ได้เป็นอย่างดี

ลูกหนี้การค้า เกิดจากการที่เราขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินเชื่อ เช่น ขายของไปแล้ว อีก 30 วันรับได้รับเงิน ในงบการเงินจะแสดงรายการนี้เป็นสินทรัพย์ประเภทลูกหนี้การค้า ที่แม้จะสภาพคล่องน้อยกว่าเงินสด แต่ก็ยังจัดเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้

สินค้าคงเหลือ เป็นสินค้าที่เหลืออยู่ในโกดังหรือในคลังยังไม่ได้จำหน่ายออกไป สินค้าคงเหลือจะมีสภาพคล่องน้อยกว่าเงินสดและลูกหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าคงเหลือจัดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่ดีของธุรกิจผลิต (Production) และธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading)

หนี้สินหมุนเวียน

หนี้สินหมุนเวียน จัดเป็นภาระผูกพันที่ธุรกิจต้องจ่ายชำระเงินออกไปในเวลาอันใกล้ (ไม่เกิน 1 ปี) ตัวอย่างนี้สินหมุนเวียนที่พบบ่อย เรียงจากมากสุดไปน้อยสุด คือ

เจ้าหนี้การค้า เกิดจากการที่เราซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระเงิน ส่วนใหญ่เรามักจะได้เครดิตเทอมให้ระยะเวลาชำระเงินนานขึ้นตามแต่ข้อตกลง

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เราใช้ประโยชน์ในกิจการแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินชำระไป เช่น เงินเดือนค้างจ่าย ค่าแรงค้างจ่าย ค่าเช่าค้างจ่าย เป็นต้น

เงินกู้ยืมระยะสั้น แน่นอนว่าเงินกู้ถ้าเป็นระยะสั้น  ผู้ประกอบการต้องจ่ายชำระตามกำหนด พร้อมๆ กับดอกเบี้ยทตามภาระที่มีกับธนาคารหรือผู้ให้กู้ไว้ เช่น หนี้บัตรเครดิตธุรกิจ เงินเบิกเกินบัญชี (OD)

สังเกตง่ายๆ หนี้สินหมุนเวียนจะเป็นขั้วตรงข้ามของสินทรัพย์หมุนเวียน เพราะการมีหนี้สินหมุนเวียนเยอะๆ แปลว่า  ผู้ประกอบการต้องชำระหนี้ภายในเวลาอันใกล้มากเช่นกัน

 เมื่อเข้าใจความหมายของสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนกันแล้ว วิธีเช็กสภาพคล่องธุรกิจ สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังนี้


ธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไร

 เงินทุนหมุนเวียนถ้ามีน้อย ธุรกิจก็มีความเสี่ยง อาจขาดสภาพคล่อง หมุนเงินมาจ่ายชำระหนี้ไม่ทัน

แต่ถ้ามีมากก็อาจทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการเติบโต แทนที่จะเอาเงินไปลงทุนให้งอกเงยกลับเอามาเก็บไว้ไม่ได้ใช้งาน จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า ธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไรดี

ซึ่งคำตอบนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาจาก

  • ประเภทธุรกิจ เช่น ถ้าเป็นธุรกิจผลิต อาจจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนมาก เพราะว่าจะผลิตของมาขายได้ใช้เวลานานกว่าธุรกิจซื้อมาขายไป
  • รายจ่ายประจำวัน ว่ามีอะไรบ้าง
  • รายจ่ายพิเศษ เช่น บางเดือนเป็น high season อาจจะต้องสำรองเงินไว้มากกว่าปกติ

สรุป ทำยังไงจึงจะเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจได้

ถ้าใครเช็กเงินทุนหมุนเวียนแล้วยังมีไม่พอ หรือตัวเลขติดลบ วิธีที่จะเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ติดตามลูกหนี้ให้ชำระตามเวลา หรือให้ส่วนลด เพื่อให้ลูกหนี้ชำระเงินเร็วขึ้น

บริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น ไม่กักตุนสินค้าเกินความต้องการ

ขายสินค้าให้ไวขึ้น โดยอาจทำโปรโมชั่น หรือให้ของแถมจูงใจลูกค้า

เจรจาขอเครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ ให้นานขึ้น

ระวังเรื่องค่าปรับจากการจ่ายเงินกู้ หรือภาษีล่าช้า

ลดรายจ่ายไม่จำเป็นในแต่ละเดือน

ทั้งหมดที่เล่ามานี้เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกท่านควรรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องเลยกับกำไรของธุรกิจ แต่เงินทุนหมุนเวียนเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ และในบางครั้งสามารถจะชี้ชะตาว่าธุรกิจนี้จะไปรอดหรือไม่ในระยะยาว

ถ้าไม่อยาก “เจ๊ง” แบบไม่เป็นท่า นอกจากจะต้องรู้เรื่องกำไรแล้ว ต้องทราบวิธีบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอด้วย

ในกรณีที่ท่านผู้ประกอบการธุรกิจเป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการ มีคู่ค้าเป็นหน่วยงานรัฐหรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่  แล้วต้องการเงินสดหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องภายในกิจการทันที ไม่อยากรอจนครบเครดิตเทอมการค้า สามารถนำเอกสารดังกล่าว มาใช้บริการ Factoring (ขายลูกหนี้การค้า) กับ ทาง AIRA สูงสุดถึง 90% ของมูลค่าเอกสาร อนุมัติไว รับเงินสดรวดเร็ว

Scroll to Top