บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)

ทฤษฎีทำนายพฤติกรรม สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องรู้

ทฤษฎีการทำนายพฤติกรรม (Theory of Planned Behavior: TPB) เป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญในการอธิบายพฤติกรรมของบุคคล โดยเฉพาะในบริบททางสังคมและอารมณ์ที่บุคคลจะชอบทำกิจกรรมอะไรซ้ำๆหรือทำกิจกรรมที่ตัวเองไม่ชอบ ทฤษฎีนี้ถูกนำมาปรับใช้ในหลากหลายสถานการณ์ เช่น การทำงานวิจัยและวางแผนทางการตลาด การพัฒนานโยบายสาธารณสุข และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อทำให้เข้าใจและทำนายพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs (Small and Medium Enterprises) ทฤษฎีนี้มีความสำคัญเพราะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเน้นไปที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ เช่น การตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ การวางแผนทรัพยากรทางการเงิน หรือการจัดการบุคคล เรื่องราวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัยหลักๆ ดังนี้:

  1. ทัศนคติ (Attitude): มุ่งไปที่เชื่อมั่นและความเห็นที่ชอบในการดำเนินธุรกิจ เช่น ทัศนคติของผู้บริโภคต่อการรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ SMEs
  2. บรรทัดฐานทางสังคม (Subjective Norm): ความรู้สึกหรือความเชื่อที่บุคคลมีต่อการดำเนินธุรกิจในกลุ่มที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เช่น การรับรองจากบุคคลในครอบครัวหรือศูนย์กลางเสริมสร้างธุรกิจ
  3. การควบคุมพฤติกรรมที่รับรู้ (Perceived Behavioral Control): ความรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมหรือการปฏิบัติในทางธุรกิจ เช่น การควบคุมการเงิน การวางแผนทางยุทธศาสตร์ในการเติบโตของธุรกิจ
  4. ความตั้งใจ (Intention) : คือความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมนึงขึ้นมา
  5. พฤติกรรมที่กระทำ (Behavior) : เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากความตั้งใจ

การประยุกต์ TPB ใน SMEs สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจความต้องการของตลาดและลูกค้าในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการทำให้รับรู้ถึงความสำคัญของการควบคุมความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างมีเป้าหมาย

Scroll to Top